แนวทางสร้างสรรค์ผลงาน

 

อภิชัย ภิรมย์รักษ์ ต้องการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะไทยร่วมสมัยที่เชื่อมโยง

ความเป็นไทยกับคติบางอย่างใน-พระพุทธศาสนาโดยการนำเอาเรื่องราวเนื้อหา

สาระปรัชญาและสัญลักษณ์ -ที่มีอยู่เดิมในคติทาง พระพุทธศาสนามาสร้างสรรค์

ขึ้นใหม่ --เพื่อถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกส่วนตัวที่มีต่อปรัชญาใน พระพุทธ

ศาสนาในฐานะของผู้สร้างสรรค์งานศิลปไทยในสมัยปัจจุบันในระยะแรกที่เรียน

อยู่ที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ -มหาวิทยาลัยศิลปากร-เป็นช่วง

เวลาที่ สนใจงานภาพพิมพ์หิน ---แต่ในขณะกำลังเรียนในชั้นปีที่ -3 มีโอกาสไป

ร่วมเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ วัดพุทธปทีป-ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันจนเมื่อกลับเข้าเรียนในชั้นปีที่ 4 -ได้เลือกเรียนสาขา

วิชาศิลปไทย-- และสร้างผลงานชุดหนังตะลุงโดยใช้เทคนิคโบราณแต่พัฒนารูป

แบบที่เป็นของตนเองขึ้นมาใหม่

"ตะลุง" 2532

"ตะลุง"2532"Talung"1989

"ตจะ" 2531

"ตจะ"2531"Taja"1988

ผลงานศิลปนิพนธ์ของอภิชัยได้รับแรงบันดาลใจจากความฝันเมื่อครั้ง

ร่วมงานเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดพุทธปทีปแนวคิดในการทำงานเป็น

การแสดงออกของรูปทรง และความเคลื่อนไหวในจิตรกรรมไทยประเพณี

ผสมผสานกับวิธีการแสดงออกส่วนตัว

 

"เอราวัณ" 2532

"คิริยเมฆ" 2532

"Khiriyamek(Three-Headed

Elephant)" 1989

 

"มารผจญ" 2533

"จินตภาพใหม่ของสังสารวัฏ ' 2"

"The Image of the Wheel of Life'2"

หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้วได้สร้างผลงานในลักษณะที่เป็น

นามธรรมมากขึ้นโดยไม่เน้นเทคนิควิธีการมากนักแต่เน้นการถ่ายทอดอารมณ์

และความรู้สึก -โดยมุ่งให้ผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นยังคงมีเอกลักษณ์แนวความคิด

หรือปรัชญาในทางพุทธศาสนาด้วย

“The cycle of Life” 1990

"The cycle of Life” 1990

“Dark Bangkok” 1989

Dark Bangkok” 1989--------

ช่วงทำผลงานวิทยานิพนธ์สนใจเรื่องราวของสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนา

วิธีการทำงานเริ่มเปลี่ยนแปลงไปดยมีการจัดระเบียบโครงสร้างของภาพให้

มีลักษณะที่ดูนิ่งขึ้น มีการเคลื่อนไหวของเส้นและรูปทรงเพียงเล็กน้อ

“เสมา” 2534

คิริยเมฆ" 2532

"Khiriyamek(Three-Headed

Elephant)" 1989

“องค์ 5” 2534

“องค์ 5” 2534 "Figure 5" 1991

ต่อมาเมื่อได้รับทุนไปศึกษาภาพพิมพ์หินที่ประเทศเยอรมนีระหว่างปี

พ.ศ. 2536-2538 ----ได้สร้างผลงานาพพิมพ์หินขึ้นประมาณ40ชิ้นดยใช้

เทคนิคภาพพิมพ์หินแบบโบราณ เน้นรูปทรงที่เรียบง่ายเป็น สามเหลี่ยม

สี่เหลี่ยม วงกลม มีลักษณะที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง แสดงความรู้สึกคล้ายๆ

กับสภาวะจิต ของตนเองในขณะนั้น ซึ่งเป็นสภาวะที่เลื่อนไหลไม่อยู่นิ่ง

อึดอัดและเก็บกด

“หลุดพ้น” 2537

"หลุดพ้น” 2537

“Spiritual Mind” 1994 ------

“Spiritual Mind” 1994

ผลงานในปัจจุบันมีลักษณะที่เรียบง่าย มีการนำสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่นสี่เหลี่ยม

และวงกลมมานำเสนอในความหมายใหม่ที่เน้นอารมณ์ความรู้สึกที่เป็นนามธรรม

และพุทธปรัชญาแฝงอยู่ในผลงานที่ สร้างสรรค์

ต่างกาล

"ต่างกาล" 2539 "eras" 1997

"สังสารวัฏ" 2539 "The Wheel of Life" 1993 ------

สูง

วัฏฏะ

"วัฏฏะ" 2539 "

The Wheel of Life" 1993

พ.ศ. 2540 อภิชัย ได้นำเนื้อหาสาระของสังสารวัฏแฝงในการสร้างสรรค์ผลงาน

จากการ ศึกษาลักษณะช่องสี่เหลี่ยมตารางและสัญลักษณ์มงคลร้อยแปดในงานศิลป

ประเพณีไทยโบราณ ทำให้คิดถึงเรื่องความรู้สึกที่เป็นนามธรรม เป็นเรื่องของ

อารมณ์ การเปลี่ยนแปลงของตนเองหรือ ชีวิตต่างๆ ที่มีการเกิด-ดับ เกิด-ดับ

ในสร้างสรรค์ผลงานจึงมีปรัชญาพุทธศาสนาแฝงอยู่ แต่ การแสดงออกจะมุ่งเน้น

ถึงอารมณ์ ความรู้สึกส่วนตัวที่มีอยู่ในขณะนั้น

วิถีแห่งโลก

“วิถีแห่งโลก” 2540

“เกิด-ดับ” 2540 "

The End of Cycle 1997" 1998 -----

“เกิด-ดับ” 2540

นอกจากนี้ ในฐานะที่เป็นผู้สอนศิลปะแก่นักศึกษาคณะจิตรกรรมประติมากรรม

และภาพพิมพ์ ต้องพานักศึกษาไป ศึกษาจิตรกรรมฝาผนังตามสถานที่ต่างๆ ทำให้ตน

เองเกิดความรู้สึกหวงแหนและอยากอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังที่มีคุณค่าเหล่านั้นไว้

ทั้งรู้สึกชอบรูปทรงที่เป็นอิสระจากร่องรอยที่หลุดร่อนของงานจิตรกรรม อภิชัยจึงเริ่ม

คัดลอก งานจิตรกรรมฝาผนังลงบนกระดาษแข็ง เลือกภาพที่อยู่ตามมุมเล็กๆของ

ผนังมาขยายสัดส่วนหลายเท่า จนดูราวกับว่า เป็นชิ้นส่วนของจิตรกรรมฝาผนังที่หลุด

ร่อน เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกหวงแหนที่เกิดขึ้นในขณะนั้น

“แผ่นดินธรรม” 2540

“แผ่นดินธรรม” 2540

“เสด็จจากดาวดึงษ์” 2540 ------

“เสด็จจากดาวดึงษ์” 2540

แนวทางสร้างสรรค์ผลงานในอนาคต

 

หลังจากที่ได้สร้างงานจิตรกรรมที่เน้นเรื่องเทคนิคผสมมากๆเข้าและมี

ระเบียบมากขึ้นแล้ว เมื่อกลับ จากการศึกษาภาพพิมพ์หินที่เยอรมนีในปี พ.ศ.

2538 อภิชัยเกิดความรู้สึกอยากสร้างงานที่ย้อนกลับ ไปสู่จุดเริ่มแรก ซึ่งเป็น

งานที่ต้องอาศัยทักษะฝีมือ และความเข้าใจในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง

เป็น อย่างมาก ประกอบกับความประทับใจในรูปทรงที่เป็นอิสระจากร่องรอย

หลุดร่อนของจิตรกรรมฝาผนังดังได้ กล่าวมาแล้ว ทำให้เกิดความสนใจและ

อยากพัฒนาให้เกิดผลมากขี้น เช่น ขยายภาพจากมุมเล็กๆ ของผนัง ขนาด

3-4 นิ้ว เป็นสเกลใหญ่ขี้นประมาณร้อยเท่า เล่นกับพื้นผิว สี เมื่อมองดูภาพใน

ระยะใกล้จะเห็นเป็น พื้นผิวของสีเป็นภาพนามธรรมที่ให้ความรู้สึกว่าเป็นของ

เก่า แต่เมื่อถอยมามองดูภาพห่างๆ สัก 4-5 เมตร จะเห็นเป็นโครงสร้างลางๆ

ของรูปลักษณ์บางอย่าง อาจเป็นพระพักตร์ของพระพุทธรูป ฐานดอกบัวหรือ

ฐาน พระพุทธรูป แนวความคิดในการทำงานในอนาคตจึงจะเปลี่ยนแปลงไป

จากที่เคยมีอยู่ คาดว่าคงใช้เวลาอีก ประมาณสองถึงสามปีกว่าผลงานจะเสร็จ

สมบูรณ์พร้อมสำหรับการจัดแสดงนิทรรศการ นอกจากนี้ยังมีผลงานบางส่วน

ที่เป็นผลงานประเภทจัดวาง (Installation) ที่ต้องอาศัยสภาพแวดล้อมใน

การสร้าง ผลงาน ผลงานชื่อ "ต้นไม้แห่งสติ" เป็นผลงานในโครงการ

"กรุงเทพเมืองฟ้าอมร" (Bangkok Art Project 1998) ที่อภิชัยเลือกต้น

ตะเคียนอายุ 200 ปี หน้าสุสานหลวงวัดราชบพิธฯ เป็นส่วนหนึ่งของผลงานใน

การนำเสนอ ความคิดเกี่ยวกับการเตือนสติผู้ดูโดยใช้ต้นไม้เป็นสื่อร่วมกับผ้า

และบันได

"ต้นไม้แห่งสติ" 2541

"ต้นไม้แห่งสติ" 2541 ---"

The Spiritual Trees" 1998------

"ต้นไม้แห่งสติ" 2541

< Back