แง่คิดเกี่ยวกับความเป็นไทยในงานศิลปะของอภิชัย ภิรมย์รักษ์

โดย ศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ

 

 

การนำรูปแบบหรือสไตล์จากงานศิลปะแบบประเพณีของไทยมาเป็นจุดเริ่มต้น

ของการสร้างสรรค์ใน ระยะแรก ๆ ดูจะกระทำกันทั่วไปในหมู่ผู้ต้องการสร้างงานแนว

ประเพณี หรืองานที่มีเค้ามูลของความเป็นศิลปะไทย ปรากฎอยู่ด้วย จุดหมายของการ

ทำแบบนี้-- หลายคนต้องการแสดงอารมณ์ความรู้สึกทั้งตามแนวเรื่องเดิมของงานศิลปะ

ประเพณี เช่น มารผจญ ตรัสรู้ และตามลักษณะเฉพาะตัวของผู้สร้างสรรค์เองบางคน

ยังคงรักษาองค์ประกอบ ---และลักษณะของรูปทรงตามแบบโบราณไว้เกือบครบถ้วน

แต่ให้อารมณ์การแสดงออกด้วยทัศนธาตุทั้งหลายตามทฤษฎี ----ของการมองเห็น

ในปัจจุบัน บางพวกสลายรูปทรงและองค์ประกอบแบบเดิมออกเป็นชิ้นส่วนแล้วนำมา

ประกอบใหม่--- เลือกสรรชิ้นส่วนที่เห็นว่าจะสื่อความรู้สึกได้ชัดเจนและรุนแรงที่สุด

เสริมด้วยชั้นเชิงของการประกอบ การให้แสงเงา สี และบรรยากาศ บางคนสอดแทรก

ความรู้สึกคิดถึงโหยหาวัฒนธรรมที่เขาคิดว่าดีงามของไทย แต่ดั้งเดิมที่กำลังเสื่อม

สลายไปทุกขณะ ภาพมารผจญที่คึกคักด้วยเส้นต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันในแบบประเพณี

ของ จิตรกรรมไทย อาจกลายมาเป็นงานจิตรกรรมในรูปแบบใหม่ที่ให้อารมณ์ความ

รู้สึกอีกแบบหนึ่ง อีกความหมายหนึ่ง ที่สามารถสื่อสารได้อย่างตรงใจกับคนในปัจจุบัน

กล่าวโดยย่อก็คือ ศิลปินฝ่ายนี้มีแนวความคิดเกี่ยวกับ การแสดงออกถึงลักษณะของ

ความเป็นไทยในทัศนะหรือในความรู้สึกของตน ด้วยวิธีการ ด้วยการนำเสนอ --แบบ

ร่วมสมัยที่สามารถสื่อสารสาระที่ต้องการกับคนร่วมยุคได้ ---ที่กล่าวนี้เป็นเพียงการ

เริ่มต้นของคนทำงานศิลปะบางกลุ่ม --ที่จับเอกลักษณ์ส่วนที่เป็นรูปธรรมของความ

เป็นไทย ในแบบประเพณีมาจัดการเสียใหม่ หวังจะให้สิ่งนั้นจูงใจตัวเองและผู้ดูให้

จินตนาการไปถึงเนื้อหาทางศิลปะที่อาจ ---มีความเป็นไทยปรากฎอยู่ด้วยในทางใด

ทางหนึ่ง งานของอภิชัย ภิรมย์รักษ์ ระยะแรก ๆ ในนิทรรศการครั้งนี้ก็ ็คงอยู่ในแนว

เดียวกัน พัฒนาการขั้นต่อไป โดยเฉพาะของอภิชัยก็คือการนำเรื่องราวหรือสัญลักษณ์

เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่ --มักจะเป็นหัวข้อเรื่องสำคัญในศิลปะแบบประเพณีของ

ไทยมาเป็นจุดนำความคิด ไม่ใช่ชิ้นส่วนของรูปแบบตาม ประเพณีอย่างในระยะแรก

แต่เป็นการนำสัญลักษณ์ เช่น --ใบเสมา --รอยพระพุทธบาท ธรรมจักร์ -และแผนผัง

ของสังสารวัฏมาแสดงออกด้วยวิธีการและเทคนิคที่แปลกใหม่ ------ด้วยการใช้วัสดุ

ใช้ความนูน ความลึก ใช้น้ำหนัก และสีที่ให้ความน่าพอใจทางรูปทรงและความหมาย

ทางศิลปะ ลักษณะเด่นของงานชุดนี้ดูจะอยู่ที่การแสดงออก ของความนึกคิดและความ

รู้สึกส่วนตัวของอภิชัยที่มีต่อสัญลักษณ์หรือเรื่องราวเหล่านั้น --เป็นการสร้างงาน --จาก

เรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนา ซึ่งศิลปินทั่วไปไม่ว่าจะเป็นชาวเอเซียหรือแม้แต่ชาวตะวัน

ตกที่สนใจใน ---พุทธศาสนา -----ก็อาจใช้เรื่องและสัญลักษณ์เหล่านี้เป็นหัวข้อของการ

สร้างสรรค์ได้ พระพุทธศาสนา ซึ่งเป็น คนละเรื่องกับความเป็นไทยอยู่แล้วจึงไม่ใช่ปัจจัย

เดียวของเอกลักษณ์ไทยในงานศิลปะ ผลแท้จริงที่เราได้รับจากงานทั้ง 2 ชุดของอภิชัยที่

ี่กล่าวมาแล้ว น่าจะอยู่ที่คุณค่าทางศิลปะในอีก รูปแบบหนึ่งที่ศิลปินแสดงเจตนาที่จะเชื่อม

โยงความเป็นไทยเข้ากับการแสดงออกของคนยุคปัจจุบัน แต่จะ --เป็นไทยได้มากหรือ

น้อย --ลึกหรือตื้นอย่างไร หรือไม่ ยังเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินได้ในขณะนี้

ที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือ ผลงานที่อภิชัยทำอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่า เขา

เจาะเปลือกของรูปแบบและ- สัญลักษณ์ในระดับรูปทรงเข้าไปภายใน --เขาทิ้งรูปแบบ

ประเพณีและสัญลักษณ์ที่คุ้นเคยเข้าไปสู่สาระหรือหัวใจ -ของพุทธธรรม -การใช้วัสดุที่

เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นทุช -( Tusche )- กับน้ำหรือน้ำมันใน

เทคนิคพิมพ์หิน หรือดินโคลนกับน้ำ รอยยับย่นของโลหะกับสะเก็ดดินที่แห้งแตก ล้วนสื่อ

ความหมายเกี่ยวกับ สาระของพุทธธรรมทั้งสิ้น ในช่วงแรกของการเข้าสู่สาระของพุทธ

ธรรมของอภิชัย บางชิ้นยังมีสัญลักษณ์ที่เขาใช้เป็นต้นทางอยู่ แต่ในที่สุดรูปนอกดังกล่าว

ก็หมดไปเหลือเพียงวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมที่เป็นรูปทรงกลาง ๆ สำหรับ รองรับวัสดุ

และการกระทำต่อวัสดุโดยตัวของมันเองและปัจจัยอื่น สื่อความหมายเกี่ยวกับความไม่

เที่ยงแท้ ความเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีผู้ใดควบคุมได้ ทำให้เรามีคำถามอยู่ในใจว่า ความเป็น

ไทยในงานศิลปะของอภิชัย ซึ่งเป็นเจตนาดั้งเดิมของเขานั้น อยู่ส่วนไหน ตอนไหนกันแน่

โดยเฉพาะเมื่อเขาเดินผ่านเปลือกและกระพี้ลึกเข้าไปถึงแก่นคือสัจธรรมอัน เป็นสากล

นั้นแล้ว -เขาเดินทางเข้าไปพบกับทางร่วมของศิลปินร่วมสมัยไร้พรมแดนทั้งหลายแล้ว

หรือไม่ ประสบการณ์ที่เขาได้รับมาจากการทำงานทั้งด้วยเจตนาและรูปแบบที่คิดกันว่า

เป็นไทยนั้น จะเป็นฐาน ช่วยหนุนส่งผลงานของเขาให้มีลักษณะพิเศษของตัวเองและของ

ศิลปินไทยที่แตกต่างจากศิลปินร่วม สมัยชาติอื่น ๆ หรือไม่ ยังเป็นเรื่องที่เราต้องติดตาม

กันต่อไป อย่างไรก็ตามที ข้าพจ้าซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ติดตามการทำงานของอภิชัย ภิรมย์รักษ์

ตลอดมา --จะไม่ ลังเลใจเลยที่จะสนับสนุนให้เขาก้าวต่อไปในแนวทางที่เขามุ่งเดินอยู่

เพราะเชื่อว่าศิลปะคือสัจจะของชีวิต --ที่จะแสดงตัวได้เด่นชัดจากประสบการณ์ตรงของ

ศิลปินในบริบทที่เหมาะสม

< Back