|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
![]() ![]() |
||||
* | ||||
![]() |
||||
สน สีมาตรัง. ความสำคัญของจิตรกรรมฝาผนัง วัดช่องนนทรีในประวัติศาสตร์จิตรกรรมไทย. | ||||
*****กรุงเทพฯ : หอสมุดสาขา วังท่าพระ, 2529. (ND2835ฮ9ก4ส33) | ||||
* | ||||
*****พระอุโบสถและจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดช่องนนทรี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกัน | ||||
ในสมัยพระนารายณ์ ราว พ.ศ. 2200 จัดอยู่ในสมัยอยุธยาตอนกลาง เรื่องราวที่เขียนเป็นภาพเล่าเรื่อง | ||||
ทศชาติชาดก พระอดีตพุทธ และพุทธประวัติ แบบศิลปะอยู่ในกลุ่มจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างเมืองธนบุรี | ||||
และนนทบุรี จากการศึกษาเปรียบเทียบกับจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างเพชรบุรีและอยุธยา แสดงให้เห็นถึง | ||||
ความแตกต่างและความสัมพันธ์กันในแต่ละกลุ่มศิลปะ ซึ่งมีวิวัฒนาการสืบต่อกันมา มีการส่งแบบ | ||||
ให้กันและกัน แต่ยังคงมีเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละสกุลช่างปรากฏให้เห็นได้ | ||||
![]() |
![]() |
|||
![]() |
||||
![]() |
||||
ภาพลายเส้นจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดช่องนนทรี. กรุงเทพ ฯ : งานอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง | ||||
*****กองโบราณคดี, 2525. (ND2835.ฮ9ก4ภ65) | ||||
* | ||||
*****ในการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดช่องนนทรี ได้ทำการคัดลอกลายเส้นภาพจิตรกรรม | ||||
ก่อนการอนุรักษ์ เพื่อศึกษารูปแบบของจิตรกรรมและเพื่อการค้นคว้าทางเทคนิคและวิชาการ ภาพลายเส้น | ||||
ที่คัดลอกไว้ได้แก่ พระพุทธรูป ยักษ์ เทวดา การแต่งกายและเครื่องแต่งกายไทยสมัยอยุธยา เครื่องสูง | ||||
เครื่องดนตรี ลวดลาย อาวุธ ต้นไม้ และสัตว์นานาชนิด | ||||
![]() |
||||
![]() |
||||
* | ||||
![]() |
||||
อาภรณ์ ณ สงขลา รายงานการวิจัยการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังวัดช่องนนทรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย | ||||
*****ศิลปากร. 2525. (ND2835.ฮ9ก4อ66) | ||||
* | ||||
*****การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสภาพของจิตรกรรม ปัญหาและสาเหตุแห่งความชำรุดและ | ||||
วิธีการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังวัดช่องนนทรีที่เหมาะสมถูกต้อง และปลอดภัย โดยทำการสำรวจเก็บข้อมูล | ||||
ต่าง ๆ ศึกษาหลักฐานทางโบราณคดี ตรวจสภาพจิตรกรรม วิจัยสาเหตุแห่งการชำรุดและปัญหาต่าง ๆ ของ | ||||
ความเสียหายที่เกิดขึ้น และให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินการอนุรักษ์ทั้งในแง่วิชาการและการปฎิบัติการ | ||||
ทางเทคนิค ตลอดจนการใช้เคมีภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ | ||||
![]() |
||||
![]() |
||||
* | ||||
![]() |
||||
ทองใหญ่ ทองใหญ่. ม.ร.ว. และคนอื่นๆ. รายงานวิจัย "วิธีการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังวัดช่องนนทรี". | ||||
*****กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2528. (ND2835.ฮ9ก4ท52) | ||||
* | ||||
*****การวิจัยมีความมุ่งหมายเพื่อต้องการทราบสภาพความเสียหาย สาเหตุและวิธีการอนุรักษ์ | ||||
จิตรกรรมฝาผนังและสถาปัตยกรรมที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังนั้น จากการศึกษาพบว่า สถาปัตยกรรม | ||||
และจิตรกรรมวัดช่องนนทรีสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จิตรกรรมในพระอุโบสถ | ||||
มีครบทั้ง 4 ด้าน แต่มีสภาพสมบูรณ์เพียง 2 ด้าน เป็นเรื่องทศชาติ อดีตพุทธ และพุทธประวัติ | ||||
โครงสีเป็นสีแดงเรื่อ ๆ หรือสีชมพู โดยส่วนใหญ่เป็นสีจากธรรมชาติ ใช้กาวจากพืชชนิดที่ละลายน้ำได้ | ||||
และพบว่าเชื้อราบางตัวมีส่วนทำให้ภาพเขียนเสื่อมสภาพ | ||||
|
||||
![]() |
![]() |
|||
![]() |
||||
![]() |
||||
วัดช่องนนทรี. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ. 2525. (ND2835.ฮ9ก4ม82) | ||||
***** | ||||
*****ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดช่องนนทรีเป็นเรื่องทศชาติชาดก อดีตพุทธ | ||||
และพุทธประวัติ การวางภาพจะคั่นเรื่องราวด้วยลายร้อยรักเป็นเส้นตั้ง และคั่นเรื่องย่อยด้วย | ||||
เส้นสินเทา โครงสี ส่วนใหญ่เป็นสีแดง ผนังลงพื้นด้วยสีฝุ่น (ขาว) แล้วระบายสีอ่อนทับลงไป นิยม | ||||
ปิดทองตัวกษัตริย์ราชรถและปราสาท การเขียนภาพมีลักษณะเหนือจริงเน้นความสวยงามมากกว่า | ||||
ความสมจริง โดยเขียนต้นไม้บิดเบี้ยวและภูเขาตัดเส้นแบบจีน แต่จะมีบางภาพเขียนแบบทัศนียวิทยา | ||||
แสดงถึงอิทธิพลการเขียนภาพแบบตะวันตก | ||||
![]() |
![]() |
|||
![]() |
||||
. | ||||
![]() ![]() |