*
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
![]() ![]() |
||||
* | ||||
![]() |
||||
ชุลี ชัยศรี, จิราภรณ์ อรัณยะนาค และพูนพิไล สุวรรณฤทธิ์. การศึกษาเชื้อราที่มีผลต่อการเสื่อม | ||||
*****สลายของกาวและสีฝุ่นที่ใช้ในการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ วัดพระศรีรัตนศาสนาราม. | ||||
*****กรุงเทพฯ : ม.ป.ท., ม.ป.ป. (ND1640.ช74) | ||||
* | ||||
*****การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจชนิดของเชื้อราที่สามารถเจริญและมีผลต่อการเสื่อม | ||||
สภาพของจิตรกรรมฝาผนัง ตลอดจนหาวิธีป้องกันหรือยืดอายุการเสื่อมอันมีผลมาจากเชื้อรา | ||||
โดยสำรวจและเก็บตัวอย่างเชื้อราที่วิหารคดและพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามนำมา | ||||
ศึกษาการเจริญของเชื้อบนวัสดุที่ใช้เขียนภาพจิตรกรรม พบว่าเชื้อราทุกชนิดเจริญได้ดีบนกาว | ||||
มะขามและกาวกระถิน แต่เจริญได้น้อยบนดินสอพอง และส่วนใหญ่ไม่เจริญบนสีฝุ่น ยกเว้น | ||||
บางชนิดเท่านั้น | ||||
![]() |
![]() |
|||
![]() |
||||
* | ||||
![]() |
||||
จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์รอบพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาดาราม. กรุงเทพฯ : | ||||
*****สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล, 2524.(ND2835.ฮ9ก4จ67) | ||||
* | ||||
*****จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์รอบพระระเบียงเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมาชำรุด | ||||
เนื่องจากความชื้นจึงเขียนซ่อมเมื่อมีการฉลองพระนครในสมัยรัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 7 | ||||
และรัชกาลที่ 9 ภาพชุดรามเกียรติ์นี้เริ่มตั้งแต่ภาพนารายณ์อวตารปางต่างๆ ก่อนที่จะอวตารเป็น | ||||
พระราม ปรากฏอยู่ตามซุ้มประตูและมุขพระระเบียง ประมาณ 80 ภาพ แล้วไปต่อเรื่องรามเกียรติ์ | ||||
ตั้งแต่ห้องที่ 1 - 178 มีคำบรรยายใต้ภาพและคำบรรยายเป็นโคลงสลักบนแผ่นหินอ่อนติดอยู่ที่ | ||||
เสารอบพระระเบียง |
||||
![]() |
![]() |
|||
![]() |
||||
* | ||||
![]() |
||||
กรมศิลปากร. ปาฐกถาเรื่อง สงวนรักษาของโบราณจดหมายเหตุเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตน | ||||
*****ศาสดาราม ครั้งรัชกาลที่ 3. กรุงเทพฯ : กรม, 2516. (CC136.ศ66 2516) | ||||
* | ||||
*****การปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดให้เขียนภาพเรื่องรามเกียรติ์ | ||||
ที่พระระเบียงคด พร้อมๆ กับภาพเรื่องปฐมสมโพธิและชาดกที่ผนังพระอุโบสถ ภาพรามเกียรติ์มีทั้งหมด | ||||
178 ภาพ ภาพตัวละครสำคัญในเรื่องอีก 80 ภาพ กาลเวลาทำให้ภาพเกิดความชำรุดทรุดโทรม เนื่องจาก | ||||
ผนังพระระเบียงมีความชื้นสูง ได้ดำเนินการเขียนซ่อมติดต่อกันมาหลายสมัย จนถึงเมื่อเดือนมกราคม 2515 | ||||
ได้ดำเนินการปฏิสังขรณืใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โดยการจัดตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านสถาปัตยกรรม | ||||
จิตรกรรม วรรณคดี และด้านอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง รวม 18 คน ทำหน้าที่กำหนดโครงการ วิธีการ และ |
||||
ควบคุมการดำเนินงานบูรณะปฏิสังขรณ์ ตามหลักการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง | ||||
![]() |
![]() |
|||
![]() |
||||
* | ||||
![]() |
||||
ภาพลายเส้นจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม. กรุงเทพฯ : | ||||
*****งานอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง กองโบราณคดี, 2524. (ND2835.ฮ9ก4ภ67) | ||||
* | ||||
*****ในการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้ทำการคัดลอกลายเส้นภาพ | ||||
เพื่อศึกษารูปแบบของจิตรกรรมและเพื่อการค้นคว้าทางเทคนิคและวิชาการ ภาพลายเส้นแบ่งออกเป็นหมวด | ||||
ต่างๆ ดังนี้ คือการแต่งกายของชาวไทยและชาวต่างประเทศ สถาปัตยกรรม ธง เครื่องสูง สัปคับ เรือ สัตว์ | ||||
และสัตว์หิมพานต์ | ||||
![]() |
||||
![]() |
||||
* | ||||
![]() |
||||
กรมศิลปากร. กองโบราณคดี. งานอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง. รายงานการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง | ||||
*****หอพระราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม. กรุงเทพฯ : กรม., [2530] (ND2552.ศ655) | ||||
* | ||||
*****หอพระราชกรมานุสร ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม รัชกาลที่ 4 โปรดให้ | ||||
สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปต่างๆ สำหรับเป็นพระราชอุทิศถวายพระมหากษัตริย์แห่ง | ||||
กรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี รวม 34 พระองค์ โปรดให้ขรัวอินโข่ง เขียนภาพพระราชพงศาวดารกรุงศรี | ||||
อยุธยาที่ฝาผนังด้านในทั้ง 4 ด้าน เป็นจิตรกรรมไทยที่ได้รับอิทธิพลการเขียนและการจัดองค์ประกอบภาพ | ||||
จากชาติตะวันตก กาลเวลาทำให้จิตรกรรมฝาผนังมีสภาพชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก เนื่องในวาระครบรอบ | ||||
200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรได้ดำเนินการอนุรักษ์จิตรกรรม โดยใช้เทคนิคและขั้นตอนใน | ||||
การดำเนินงานตามหลักการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง เพื่อยับยั้งความชำรุดและคงคุณค่าของจิตรกรรมไทย | ||||
* | ||||
![]() |
||||
. | ||||
![]() ![]() |