ภาพเขียนสีและภาพสลัก

รวบรวมและเรียบเรียงโดย ผศ. พัชรี สาริกบุตร

ได้รับการสนับสนุนการจัดทำฐานข้อมูลจากกรมศิลปากร

แผนที่ประเทศไทย

-

ภาพเขียนสีและภาพสลักเป็นงานศิลปะที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ศิลปะถ้ำ"
(Cave art ) หรือ " ศิลปะบนหิน" (Rock art ) ทั้งนี้เนื่องจากภาพเหล่านั้น
ปรากฏให้เห็นบนผนังภายในถ้ำหรือหน้าถ้ำ และ/หรือตามผนังของก้อนหินใหญ่
หรือเพิงหิน และเพิงผาใหญ่ ภาพเขียนสีคือรูปภาพที่สร้างขึ้นด้วย "การลงสี"
(pictograph) ที่ได้จากสีธรรมชาติบนพื้นหินโดยการวาดด้วยสีแห้ง (drawing) 
เขียนหรือระบายสี (painting) พ่นสี (stencilling) ทาบหรือประทับ (imprinting)
และการสะบัดสี (paint splattering) ส่วนภาพสลักคือการทำรูปรอยลงในเนื้อหิน
(petroglyph) ด้วยการฝน (abrading) ขูดขีด (scratching) แกะหรือตอก
(pecking) และการจาร (engraving)

ภาพที่เกิดจากการเขียนสีและการสลักมักแสดงให้เห็นเป็นรูปต่างๆ รูปคน
รูปสัตว์ รูปต้นไม้ ใบไม้และดอกไม้ รูปวัตถุและสิ่งของ รูปสัญลักษณ์ต่างๆ รวมทั้ง
รูปมือและเท้าด้วย ภาพเหล่านี้อาจแสดงโดดๆ มีเนื้อความเล่าเรื่องในตัวเองหรือภาพ
ประกอบกันเป็นเรื่องราว โดยแสดงให้เห็นถึงการเล่าเรื่องการล่าสัตว์ การทำการ
เกษตรกรรม การละเล่นงานรื่นเริง การประกอบพิธีกรรม ตลอดจนภาพการร่วมเพศ
ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความเชื่อและพิธีกรรม

ในประเทศไทยภาพเขียนสีและภาพสลักมักจะทำขึ้นบนผนังเพิงหินหรือเพิงผา
ใหญ่มากกว่าที่จะทำขึ้นในถ้ำ แต่เรามักจะเรียกเพิงหินนั้นว่า "ถ้ำ"เสมอ

ภาพเขียนสีและภาพสลักที่พบในประเทศไทย