ศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ กับการเรียนการสอนศิลปะ
ศาสตราจารย์ชลูดเป็นนักศึกษารุ่นที่ 8 แต่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นคนแรกของ
มหาวิทยาลัยศิลปากร ขณะนั้นอาจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นคณบดีมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการเรียน
การสอนทั้งภาควิชาจิตรกรรมและภาควิชาประติมากรรม ท่านกล่าวถึงความประทับใจที่มีต่อ
ศาสตราจารย์ศิลป์ ว่า
"อาจารย์ศิลป์รักศิลปะมาก
ท่านต้องการมาสร้าง มาวางรากฐานศิลปะที่ถูกต้องและทัน
สมัยให้แก่เมืองไทย อาจารย์ศิลป์จะทำทุกอย่างเพื่อให้ศิลปะในเมืองไทยเจริญขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการ
สอน การเขียนตำรา เขียนบทความ การเผยแพร่งานและความรู้ทางศิลปะ จนกระทั่งการออกเงิน
ทองส่วนตัวเพื่อช่วยเหลือนักศึกษา วิธีการสอนของท่านก็เป็นแบบฉบับของครูที่ดี
รู้จักติ รู้จักชม
ในโอกาสอันควร ไม่มีความลำเอียงในตัวบุคคล ดูเหมือนอาจารย์ศิลป์จะไม่รักใครเป็นส่วนตัว
ท่าน
จะรักคนที่ทำงานและมีผลงานศิลปะเท่านั้น"
ศาสตราจารย์ศิลป์เป็นผู้สอนรายวิชาในคณะจิตรกรรมประติมากรรมเองหลายวิชา
มี
อาจารย์ที่สำเร็จจากมหาวิทยาลัย และจากโรงเรียนประณีตศิลปกรรมที่ศาตราจารย์ศิลป์เคยสอนมา
เป็นผู้ช่วยสอนหรือรับผิดชอบในบางรายวิชา ศาสตราจารย์ชลูดได้เป็นอาจารย์สอนศิลปะที่
มหาวิทยาลัยศิลปากรตั้งแต่ยังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 5 รับผิดชอบสอนวิชาองค์ประกอบศิลป์เป็นราย
ชั่วโมง โดยเป็นผู้ช่วยสอนของศาสตราจารย์ศิลป์ในวิชานี้ มีหน้าที่ให้งาน
ควบคุมชั้นเรียนและ
ตรวจงานร่วมกับศาสตราจารย์ศิลป์ เมื่อเรียนสำเร็จระดับปริญญาตรีใน พ.ศ.
2497 ก็ได้บรรจุเป็น
อาจารย์สอนเต็มเวลาที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
ท่านได้ทุนเรียนศิลปะจากรัฐบาลอิตาลี และสอบคัดเลือกเข้าเรียนสาขา
Decoration (เนื้อ
หาหลักสูตรเป็นการสร้างงานศิลปะที่กำหนดตำแหน่งในตัวอาคาร เช่น งานจิตรกรรมฝาผนัง)
ณ
กรุงโรม ประเทศอิตาลี ได้เรียนภาพพิมพ์เทคนิคพิมพ์ร่องลึก (Intaglio) ที่ท่านสนใจและได้นำ
ความรู้นี้กลับมาสอนที่มหาวิทยาลัยศิลปากร จนถึง พ.ศ. 2507 ก็ได้ทุนไปดูงานศิลปะที่ประเทศ
สหรัฐอเมริกาอีกครั้ง โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเรียนภาพพิมพ์หินและดูงานศิลปะพร้อมกับหาข้อมูล
ต่าง ๆ เพื่อจะกลับมาเปิดหลักสูตรภาควิชาภาพพิมพ์ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร
ซึ่งในเวลานั้นวิชาภาพ
พิมพ์มีเรียนกันครั้งแรกที่คณะจิตรกรรมฯ เรียกว่าวิชาแกะแม่พิมพ์ไม้ (Woodcut)
โดยศาสตราจารย์
ศิลป์ได้บรรจุไว้เป็นวิชาโทสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4-5 เมื่อศาสตราจารย์ชลูดได้เปิดภาควิชาภาพ
พิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2508 แล้ว จึงมีการเรียนภาพพิมพ์เทคนิคอื่น ๆ เช่น
พิมพ์ร่องลึก พิมพ์หิน พิมพ์ผ้า
ไหม โดยท่านเป็นผู้สอนเพียงคนเดียวก่อนในช่วง 2-3 ปีแรก
ต่อมาใน พ.ศ. 2520 ท่านก็ได้เปิดภาควิชาศิลปไทยขึ้นเนื่องจากท่านเห็นว่ามีนักศึกษา
จำนวนหนึ่งที่มีอุปนิสัยพิเศษในงานศิลปะแบบประเพณีไทย ไม่ถนัดในการสร้างสรรค์แบบสากล
และไม่สามารถจะพบความสำเร็จในระดับสูงได้ จึงเปิดสาขานี้ขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง
ประกอบกับท่านเห็นว่าศิลปะแบบประเพณีของไทยที่มีหลงเหลืออยู่ นับวันจะเสื่อมโทรมและ
สิ้นสูญไป จำเป็นต้องมีศิลปินรุ่นปัจจุบันและรุ่นหลังทำหน้าที่สืบต่อศิลปะแบบประเพณีต่อไป
นักศึกษาในภาคศิลปะไทยส่วนหนึ่งอาจมีความสามารถในการสร้างงานร่วมสมัยที่มีสำเนียงของ
ไทยปรากฎอยู่ด้วย นั่นก็ถือเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่ง จุดมุ่งหมายโดยย่อของภาควิชาศิลปไทย
ก็คือ อนุรักษ์ สืบสาน และสร้างสรรค์ ซึ่งอาจทำได้ 2 ทางคือ สร้างงานศิลปะแบบไทยในบริบทของ
ปัจจุบัน และสร้างงานแบบปัจจุบันให้มีความเป็นไทยแฝงอยู่ภายใน
จากประสบการณ์การสอนเป็นเวลานานกว่าสี่สิบปี
ท่านให้ทัศนะเกี่ยวกับการสอบเข้า
มหาวิทยาลัยศิลปากรว่า ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี
ในคณะจิตรกรรม
ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ คิดว่าระบบการคัดเลือก
ติดอยู่กับระเบียบการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย
มากเกินไป ซึ่งกำหนดให้ผู้สอบเข้าจะต้องสอบตามจำนวนวิชาและภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น
เรายังไม่มีเครื่องมือที่ดีพอสำหรับประเมินคุณภาพผู้ที่จะเข้ามาเรียนว่าเป็นคนมีความรู้ความสามารถ
เพียงพอหรือไม่ อย่างดีที่สุดที่ทำได้ก็เพียงวัดทางฝีมือเท่านั้น ซึ่งยังไม่พอสำหรับการเป็นนักสร้าง
สรรค์ ซ้ำร้ายไปกว่านั้นเราจะได้ฝืมือปลอมๆ เข้ามาเสียอีกเพราะไปท่องข้อสอบกันมา
ใคร ๆ ก็รู้
ว่าการสอบคัดเลือกมีข้อสอบอะไรบ้าง เขียนคนก็ไปท่องคนมา ฝึกฝนการก็อบปี้แบบมา
ให้ทำ
องค์ประกอบศิลป์ ให้ทำงานสร้างสรรค์ก็เตรียมท่องมาจากแบบที่คนติวเขาคิดให้
การคัดเลือก
บุคคลเข้าศึกษาในคณะจิตรกรรมฯ น่าจะคัดเลือกคนที่มีปัญญา มีความคิดเชิงสร้างสรรค์
มีเค้าของ
ความสามารถทางการแสดงออกและมีความรู้วิชาพื้นฐานทั่วไปเป็นอย่างดี ไม่ใช่คัดเลือกเอาช่างฝี
มือเข้ามาเป็นนักศึกษาเพราะถึงจะฝึกอย่างไรก็คงเป็นช่างฝีมือขั้นดีหน่อยเท่านั้น