แนวทางสร้างสรรค์ผลงาน

 

--------หากย้อนกลับไปมองที่ผลงานศิลปะของ-ปรีชา เถาทองจะพบว่าช่วงที่

เริ่มต้นมีชื่อเสียงนั้นศิลปินเริ่มจากการศึกษา- ธรรมชาติโดย มีความเชื่อส่วนตัวว่า

แสงเงาและวัฒนธรรมไทยเป็นจุดสำคัญของความคิดที่จะนำมาใช้ในการเขียนรูป

สามารถแสดงถึง เอกลักษณ์ของไทยและความรู้สึกสงบนิ่ง ---มีสมาธิผลงานหลาย

ยุคของปรีชาจึงเป็นเรื่องของความสงบ--- ที่สำคัญงานทุกชิ้น จะมีเรื่องแสงเงาหรือ

ใช้สีทองเป็นส่วนประกอบ ----ต่อมาศิลปินเริ่มใช้วัตถุที่มีความแวววาวเพื่อสื่อความ

คิดของความ เป็นไทย ---โดยใช้เทคนิคแบบจิตรกรรมแบบไทยประเพณีมา ผสม

ผสานกับเทคนิคแบบ ศิลปะตะวันตก --เกิดเป็นผลงานศิลปะ ที่มีเอกลักษณ์ ของตน

เองอย่างโดดเด่นขึ้นมา ปัจจุบันผลงานของปรีชาเสนอรูปแบบ แนวความคิด เทคนิค

วิธีการในการแสดงออก สะท้อนถึงสาระ ทางพุทธปรัชญา เพื่อชี้นำสังคมและพัฒนา

สังคม อย่างไรก็ตาม ----งานทุกยุคล้วนมีแนวความคิดหลักที่ต้องการแสดงถึงความ

เป็นไทย ความศรัทธา ความสงบนิ่ง ความศักดิ์สิทธิ์ในทางศาสนาตามความเป็นไป

ของสภาพชีวิตในปัจจุบัน -โครงสร้างแนวความคิด ใน-- การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ

ของปรีชา เถาทอง อาจจำแนกตามชุดงานที่เกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ดังนี้

ชุดที่ 1

พ.ศ.2512-2515 เป็นการค้นหา-- แนวความคิดแรงบันดาลใจจากกฎเกณฑ์เหตุผล

ในธรรมชาติ ศึกษาข้อมูลความประทับใจจาก น้ำหนัก สี แสงและเงา และบรรยากาศ

จากธรรมชาติ--- สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ---เป็นการสร้างความคิด----- ความรู้สึก

จินตนาการ ผ่านรูปทรง เหตุผลจากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบตัวของศิลปิ

 

"วัดโพธิ์ 2512"

"Dry Point 1970"

 

ชุดที่ 2

พ.ศ.2515-2517 เป็นการค้นหาหลักการเหตุผลจากกฏเกณฑ์ของธรรมชาติโดยใช้รูป

แบบของแสงและเงาเป็นต้นคิดในการพัฒนารูปทรงและพื้นที่ว่าง การกำหนดตำแหน่ง

ของแสงต้นกำเนิด วัตถุตัวกลางทึบแสง และฉากรับภาพอย่างมีกฎเกณฑ์และเป็นตัวกำ

หนดทิศทาง ตำแหน่ง รูปทรงของแสงและบริเวณของเงาให้มีความหมายและสามารถ

แสดงออกถึงเนื้อหาสาระในเรื่องของความสงบได้ดังประสงค์

"ภายนอก 1/2517"

"แสงและเงา 4"

 

ชุดที่ 3

พ.ศ.2517-2518 เป็นการศึกษากฏเกณฑ์เหตุผลของการกำหนดรูปทรงของ

แสงและเงาเพื่อพัฒนาให้มีความสัมพันธ์กับลวดลายสีสันและน้ำหนักที่ประกอบ

กันทั้งบริเวณรูปทรงของแสงและเนื้อที่ของเงาอย่างมีเอกภาพ เป็นการนำเอา

สาระเรื่องราวและลวดลายทางศิลปะวัฒนธรรมของไทยเข้ามาผสมผสานกับรูป

ทรงของแสงและเงาอย่างกลมกลืนมากขึ้นเพื่อให้บังเกิดเป็นเนื้อหาสาระที่

สะท้อนถึงรูปลักษณ์งานศิลปะร่วมสมัยที่แฝงเร้นไว้ด้วยอุดมคติของศิลปะ

ประเพณีไทย

"สเก็ตซ์ 2517"

"เปลือย" 2518

 

ชุดที่ 4

พ.ศ.2518-2519 เป็นการพัฒนารูปทรงของแสงกับเนื้อที่บริเวณเงามืดให้มีอัตราส่วน

ที่แตกต่างกันโดยมุ่งเน้นจุดเด่นที่บริเวณ รูปทรงของแสงซึ่งมีบริเวณน้อยกว่าเนื้อที่ของ

บริเวณเงามืด โดยการใช้น้ำหนักสีที่สว่างสดใสในบริเวณที่ถูกแสง และใช้น้ำหนักสีที่มืด

สอดแทรกอยู่ในบริเวณของเงามืด ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันทั้งในลวดลาย

สีสันบริเวณรูปทรงของแสงและบริเวณของเนื้อที่เงาอย่างมีเอกภาพ อันเป็นผล ให้

บังเกิดเนื้อหาสาระที่แสดงความสงบ มีสมาธิ แฝงเร้นอยู่ในผลงานอันเป็นรูปลักษณ์

ศิลปะไทยในแนวทางสร้างสรรค์ปัจจุบัน

"วัด 2519"

"Light in Temple 1976"

 

ชุดที่ 5

พ.ศ.2519-2520 เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบแนวความคิดจากการหาข้อมูล

ในรูปทรงสถาปัตยกรรมของโบสถ์ วิหารในประเทศอิตาลี รูปทรงโครงสร้างอาคาร

สถาปัตยกรรมยุโรปประกอบกับมุมมองที่มีบริเวณเนื้อที่จำกัดอาคารสูงใหญ่เป็น

เหตุผล ที่ทำให้บังเกิดการนำเสนอรูปแบบแง่มุมองค์ประกอบของภาพที่ตรงไปตรง

มาการสร้างรูปทรงของแสงกับเนื้อที่ของเงาจึงมีความสัมพันธ์กับ โครงสร้างสถา-

ปัตยกรรมเป็นหลัก มุมมองของภาพที่เกิดขึ้นจึงเป็นแบบมิติที่ซ้อนตรงเข้าไป เนื้อ

หาสาระของภาพยังสะท้อนถึงความสงบ มีสมาธิ และรูปแบบจะเป็นแนวงานศิลปะ

ร่วมสมัยมากขึ้น

 

"เวนิส 2519"

"ฟลอเรนซ์ 2520"

 

ชุดที่ 6

พ.ศ.2520-2522 เป็นการพัฒนารูปแบบมุมมองผลงานในรูปทรงของแสงบนเนื้อ

ที่ของเงาจากสถาปัตยกรรมไทยในโบสถ์วิหารทั่วๆไปโดยได้รับแนวความคิดการ

จัดแง่มุมมองจากผลงานช่วงไปศึกษาข้อมูลจากงานศิลปกรรมในชุดอิตาลี ดังนั้น

รูปแบบมุมมองจะเป็นการนำเสนอแง่มุมที่เป็นมิติซ้อนแบบมุมตรงเข้าไป รูปทรง

องค์ประกอบจะแสดงความแข็งแรงมั่นคง สงบนิ่ง เนื้อหาสาระก็ยังแสดงออกใน

ด้านความสงบ มีสมาธิอันแฝงเร้นไว้ด้วยรูปลักษณ์ศิลปไทยในแนวทางศิลปะ

ร่วมสมัย

"รูปทรงของแสงบนเนื้อที่ของเงา 1" 2522

"Rhythm of Life on the Shadow Dred 1979"

 

ชุดที่ 7

พ.ศ.2522-2524 เป็นการพัฒนารูปแบบมุมมองจากภายนอกของสถาปัตยกรรม

ไทยมาสู่ภายในของสถาปัตยกรรมไทย แต่ยังใช้จังหวะของรูปทรงของแสงที่ส่อง

ผ่านลงมาภายในอาคาร มีรูปทรงเนื้อที่ของเงาที่กระทบบนรูปทรงเรื่องราวของ

จิตรกรรมฝาผนังในเรื่องของพุทธประวัติ ชาดก ฯลฯ รูปแบบเรื่องราวดังกล่าว

จะมีตำแหน่งกลุ่มรูปทรง มีจังหวะช่องไฟที่เกิดจากร่องรอยแตกของฝาผนัง ทำ

ให้บังเกิดผลในทางรูปทรง พื้นผิวภาพในช่องไฟต่างๆกัน โดยมีบริเวณของแสง

เป็นผู้กำหนดรูปร่างของรูปทรงสีที่สดใสของภาพ และบริเวณเงาจะแสดงสาระ

ของรูปทรงสีที่มีน้ำหนักเงียบขรึมเชื่อมโยงกับสาระรูปทรงในแสง ผลรวมของ

เนื้อหาสาระจะแสดงเรื่องความสงบ ศักดิ์สิทธิ์ ที่ผสมผสานกับรูปทรงเรื่องราว

ทางพุทธประวัติชาดกที่ใช้เป็นตัวเชื่อมกับแสงเงาอย่างมีเอกภาพ

 

"จังหวะของแสง 2523"

"Light on the Wall 1980"

 

ชุดที่ 8

พ.ศ. 2524-2525 เป็นการพัฒนารูปแบบ แนวคิด และเทคนิควิธีการจากชุดที่ผ่านมา

โดยยังใช้หลักการของแสงเงาและรูปแบบเรื่องราวทางพุทธศิลปเป็นหลักในการแสดง

ออก แต่มีการนำเสนอเทคนิคสื่อผสมโดยใช้แสงจากสไลด์มัลติวิชั่น ภาพนิ่ง หรือภาพ-

ยนต์ ในรูปทรงของแสงที่สร้างขึ้นไปแสดงประกอบกับภาพจิตรกรรม นับได้ว่าเป็นการ

แสดงศิลปะแนวสื่อผสมที่ยังสะท้อนเนื้อหาความสงบที่เป็นศิลปะไทยในแนวทางศิลปะ

ร่วมสมัย

"ยมกปาฏิหาริย์ 2524"

"มารผจญ 1982"

 

ชุดที่ 9

พ.ศ.2525-2526 เป็นการนำเอารูปแบบเรื่องราวจากประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญของ

ยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เนื่องในวาระสมโภชกรุงเทพฯ 200 ปี มาเป็นสื่อต้นแบบแนว

ความคิดในการออกแบบ รูปทรง เรื่องราวของภาพจิตรกรรม โดยใช้รูปทรงสัญลักษณ์

ของแสงและเงามาเป็นตัวร่วมในการผสมผสานแสดงความคิด ความรู้สึกร่วมกันในการ

ออกแบบสร้างสรรค์ นับว่าเป็นการแสดงรูปลักษณ์จิตรกรรมไทยร่วมสมัยในยุคสมัย

ปัจจุบัน

"แสงและเงาบนกระดาษ 2526"

"จิตรกรรมสมโภชรัตนโกสินทร์ 200 ปี

หมายเลข 3"

 

ชุดที่ 10

พ.ศ.2526-2527 เป็นการทดลองเทคนิควิธีการในแนวทางวาดเส้น ภาพพิมพ์

เทคนิคผสม โดยมีเทคนิคจิตรกรรมมาผสมผสาน และใช้เทคนิคจากแสงไฟฟ้า

เป็นตัวร่วมในการแสดงออก นับได้ว่าเป็นช่วงของการประลองค้นคว้าศิลปะใน

แนวสื่อผสมและเทคนิคผสมที่ยังอาศัยรูปทรงสัญลักษณ์จากวัฒนธรรมประเพณี

และพุทธศิลป์ของไทย

"ยมกปาฏิหาริย์ 2526"

"Drawing 1984"

 

ชุดที่ 11

พ.ศ.2527-2528 เป็นการกลับมาศึกษาวิเคราะห์การใช้รูปทรงสัญลักษณ์จากเรื่องราว

ของพุทธประวัติและชาดกในการสื่อ ความหมายทางการใช้จังหวะรูปทรงองค์ประกอบ

ของกลุ่มภาพจิตรกรรม กับการใช้แสงเงาเป็นตัวกำหนดความหมายลักษณะเด่นของ

ภาพมีการใช้รูปแบบและเทคนิคของการใช้แสงจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาเป็น

องค์ประกอบร่วมในการแสดงออกแนวความคิดสร้างสรรค์ ในงานศิลปกรรมชุดนี้

"จังหวะของแสงและเงาบนจิตรกรรมฝาผนัง" 2528

"Print 1985"

 

ชุดที่ 12

พ.ศ.2529-2530 เป็นการพัฒนารูปแบบ องค์ประกอบของภาพ โดยใช้รูปทรง

เรื่องราวทางพุทธประวัติ-ชาดกรูปสัญลักษณ์ ทางพุทธศิลปเป็นหลัก เน้นการจัด

วางองค์ประกอบของภาพและการใช้รูปทรงสีเรื่องราวเป็นหลัก โดยผลงานในชุด

นี้จะไม่ใช้แสงและเงาเป็นตัวควบคุมสร้างบรรยากาศภายในภาพเหมือนเช่นชุด

ที่ผ่านมา

"แสงบนจิตรกรรม 2530"

จิตรกรรมฝาผนังใน อาคารชิดลม เพลส

จิตรกรรมฝาผนังในอาคารชิดลม เพลส

 

ชุดที่ 13

พ.ศ. 2530-2534 เป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดวางองค์ประกอบของภาพโดยใช้

รูปแบบเรื่องราวสัญลักษณ์ทางพุทธศิลป์มากขึ้น การจัดวางกลุ่มรูปทรงองค์ประกอบจะ

ใช้ลักษณะรูปแบบทางการซ้ำๆ เน้นออกมาทางการใช้กลุ่มภาพเป็นลวดลาย เรื่องเป็น

ส่วนประกอบ ในโครงการชุดนี้จะมีการทดลองกลับมาใช้แสงเงาและมีการใช้แสงที่

เขียนขึ้น กลุ่มรูปทรงของแสงจะมีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิตเรียบง่ายมากขึ้น แต่เนื้อ

หาสาระยังแสดงความหมายในทางความสงบ มีสมาธิเช่นเดิม

"Form and Relight 1987"

"มารผจญ 2532"

 

ชุดที่ 14

พ.ศ.2534-2536 เป็นการพัฒนารูปทรง เทคนิคของผลงานศิลปกรรมโดยใช้รูป

แบบพุทธศิลป์ที่นำเสนอในเชิงสัญลักษณ์มากขึ้น มีการนำเสนอกลุ่มภาพในรูป

แบบขององค์ประกอบที่เรียบง่ายขึ้นกว่าชุดที่ผ่านมา เน้นที่สัญลักษณ์การซ้ำเป็น

ส่วนใหญ่ มีการใช้เทคนิคของแสงที่เขียนขึ้นกับแสงจากสไลด์ แสงไฟฟ้า มาผสม

ผสานกับกลุ่มรูปทรงของแสง ลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิตเรียบง่ายมากขึ้น แต่

เนื้อหาสาระยังแสดงความหมายในทางความสงบ มีสมาธิเช่นเดิม

"50 ปี ภาพสะท้อน" 2536

"แสงและทิศทาง 2535"

 

ชุดที่ 15

พ.ศ.2536-2537 เป็นการพัฒนารูปทรงแนวความคิดในผลงานโดยใช้รูป

สัญลักษณ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาจากรูปทรงทางพุทธศิลป์ กำหนดกลุ่มรูปทรง

องค์ประกอบของภาพที่มีลักษณะสมส่วน ทรงสองข้างเท่ากัน มีการกำหนด

รูปลักษณะทางพุทธศิลป์ตามแนวความคิด เรื่องราวที่กำหนดขึ้น มีการใช้

เทคนิคผสม วัสดุปิดปะ (Collage) และเทคนิคขูดขีด ผสมผสานกับการ

ระบายสีทางจิตรกรรม นับได้ว่าผลงานชุดนี้มีการทดลองทางรูปทรงองค์

ประกอบการใช้เทคนิคผสมและไม่มีการใช้รูปทรงของแสงเงาไม่ว่าจะเป็น

การเขียน หรือแสงจากเทคนิคไฟฟ้า หรือแสงธรรมชาติเข้ามาเป็นจุดเน้น

ในภาพ แต่สาระจะไปอยู่ที่กลุ่มรูปทรงสัญลักษณ์ในภาพ น้ำหนัก สีสัน และ

พื้นผิว ร่องรอยที่ปรากฏขึ้นภายในภาพจะเป็นจุดสำคัญในการแสดงออก

artenvironUN1993s.jpg (23456 bytes)

"โครงสร้างจักรวาล" 2536

formandmixtech1994s.jpg (23393 bytes)

"Form and Mix Technique"

 

ชุดที่ 16

พ.ศ2537-2539 เป็นการพัฒนารูปทรงแนวความคิดทางการสร้างสรรค์ศิลปกรรม

เป็นรูปทรงสัญลักษณ์ที่มีความเรียบง่าย สมส่วนทรงเน้นการนำเสนอองค์ประกอบ

ไปในแนวทางสองข้างเท่ากัน มีการใช้สีสดที่มีความมันวาวและพื้นผิวร่องรอย

ปริมาณต่างๆกัน นำเทคนิคผสม เทคนิคการปิดปะ ผสมกับการเขียน ขูดขีดลายเส้น

และเทคนิคจิตรกรรมผสมผสานร่วมกัน เป็นการแสดงแนวความคิด ในด้านการทด

ลองค้นคว้าวัตถุไทยกับวัตถุสากล เพื่อหาความสัมพันธ์กันของจังหวะรูปทรง ช่องไฟ

วัตถุไทย-สากล พื้นผิวเพื่อให้บังเกิดผลในรูปทรงสัญลักษณ์ทางรูปทรงไทยในความ

หมายที่เป็นไทยร่วมสมัยปัจจุบัน

painting1994s.jpg (14804 bytes)

"Painting 1994"

paeprart1995s.jpg (21503 bytes)

"Paper Art 1995"

 

ชุดที่ 17

พ.ศ.2539-ปัจจุบัน เป็นการนำเสนอรูปทรง ลวดลาย วัสดุ เทคนิคไทย-สากล และรูป

ทรงลวดลายทางพุทธศิลป์ตามทัศนะ ของศิลปิน ที่มีการนำเสนอในเชิงเปรียบเทียบ

ตามทัศนะแนวความคิดของรูปทรงอดีต-ปัจจุบัน แนวคิดพุทธศิลป์อดีต-ปัจจุบัน การ

สรุปเนื้อหาเชิงเปรียบเทียบในทัศนะผู้สร้างสรรค์จากสาระของสังคม ภูมิปัญญาของ

คนไทยในอดีต-ปัจจุบัน รูปแบบ แนวความคิดเทคนิควิธีการในการแสดงออกจะเป็น

การสะท้อนถึงสาระทางพุทธปรัชญาเพื่อชี้นำและพัฒนาสังคม

"Thai Symbolism 2/1997"

"Art in Environment 1998"

"จิต วัตถุ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท" 2539

"Intelligence 2/1999"

แนวทางสร้างสรรค์ผลงานในอนาคต

ในอนาคต ปรีชา เถาทอง คงทำหน้าที่เป็นครูสอนศิลปะซึ่งเป็นอาชีพที่ตนรักต่อไป พร้อมๆ

กับการพัฒนางานสร้างสรรค์ศิลปะอย่างต่อ เนื่องโดยใช้แนวทางของศิลปไทยแบบประเพณี

มาผสมผสานกับเทคนิคแบบศิลปะร่วมสมัย เพื่อการสร้างสรรค์ให้เป็นศิลปะสมัยใหม่ที่เน้น

ในเชิงสาระความคิดมากกว่ายึดติดกับรูปแบบที่สังคมชื่นชอบ --ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์

จิตรกรรมหรือศิลปะจัดวาง ----ที่ใช้การต่อรองกับสิ่ง แวดล้อมภายนอก นอกจากนี้แล้วปรีชา

ยังตั้งปณิธานที่จะสร้างโบสถ์สักแห่งหนึ่งโดยจะเป็นผู้ออกแบบทั้งตัวอาคารพร้อมทั้งตกแต่ง

ภายใน--- อาคารด้วยจิตรกรรมฝาผนังและออกแบบระบบแสงสว่างภายในอาคารด้วยตนเอง

เพื่อให้เกิดจังหวะของแสงและเงาตามแนวคิดของตน ทั้งหมด