ที่ตั้ง |
น้ำตกแม่กลาง
ดอยหัวช้าง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ |
พิกัดภูมิศาสตร์ |
เส้นรุ้งที่
18o 29' 52" เหนือ เส้นแวงที่ 98o
40' 20" ตะวันออก พิกัดกริดที่ 47 QMA 654451
ระวางที่ 4745 IV |
สภาพที่ตั้ง
|
ห่างจาก
จ.เชียงใหม่ ทางใต้ 65 กม. ห่างจาก
อ.จอมทองไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
8 กม. ตามเส้นทางจอมทอง -
ดอยอินทนนท์
ไปถึงศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวน้ำตกแม่กลาง
เดินเท้าเข้าไปตามเส้นทางท่องเที่ยวน้ำตกแม่กลางประมาณ
200 เมตร
เป็นแนวสันเขาที่หันหน้าสู่ลำน้ำแม่กลาง |
การค้นพบ |
สำรวจโดยโครงการโบราณคดีประเทศไทย
(ภาคเหนือ) กรมศิลปากร ในปี พ.ศ. 2530และสำรวจอีกครั้งใน ปี พ.ศ. 2542
โดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 6 เชียงใหม่ |
หลักฐานทางโบราณคดี
|
พบเศษภาชนะดินเผาเนื้อดินลายเชือกทาบและแบบผิวเรียบ
จำนวนเล็กน้อย |
ลักษณะของถ้ำและภาพเขียนสี |
 |
ผาคันนาเป็นหน้าผาชั้นบนของน้ำตกแม่กลาง
เป็น
เพิงหิน Granodiorite
หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ยาว
31 เมตร สูง 12 เมตร
ภาพเขียนสีมีคราบหินปูนเกาะจับแน่นอยู่ |
บริเวณที่พบภาพเขียนสีสูงจากพื้นประมาณ
1.5 -5.0 เมตร เขียนด้วยสีแดง
ประกอบด้วยภาพ 3 ประเภท คือ ภาพคน 1
ภาพ ภาพสัตว์คล้ายช้าง 1 ภาพ
และภาพสัญลักษณ์เป็นลายเส้นรูปต่าง
ๆ |
 |
 |
- |