ที่ตั้ง |
บ้านไร่
ตำบลสบป่อง (ลุ่มน้ำลาง) |
พิกัดทางภูมิศาสตร์ |
พิกัดกริดที่
E 414200 N 2158450 ระวางที่ 4648 III |
สภาพที่ตั้ง
|
บนเส้นทาง
1095 สบป่อง - แม่ฮ่องสอน ประมาณ 7 กม.
เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางสถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาว
ปางมะผ้า ประมาณ 5 กม.
สุดทางบ้านไร่
เดินเท้าไปทางทิศตะวันตกข้ามลำน้ำลางเลียบลำน้ำไปประมาณ
2 กม. ข้ามลำน้ำลางขึ้นเขาประมาณ 300
ม. พบเพิงผาใหญ่ |
ลักษณะของถ้ำ
|
เป็นเพิงผาหินปูนวางตัวเป็นแนวโค้งรูปตัวยูสูงประมาณ
80 ม.ทางเข้าหันหน้าไปทางทิศเหนือ |
หลักฐานทางโบราณคดี
|
พบโลงไม้สักขุด
เสาไม้และคานไม้
เศษภาชนะดินเผาเนื้อดินแบบเรียบทาน้ำดินและแบบเชือกทาบ
เครื่องมือหินกรวดแม่น้ำแบบสับตัดและอื่นๆ
รวมทั้งเศษขวานหินขัด
กระดูกสัตว์และเขากวาง เมล็ดพืช
ประเภทสมอและมะกอก
และชั้นถ่านและขี้เถ้าหนาประมาณ
10 ซม. ลึกลงไป 10 ซม. |
ภาพเขียนสี |
 |
ภาพปรากฎบนผนังหินด้านทิศ
ตะวันออก 4 กลุ่ม รวมทั้งหมด 32 ภาพ
สูงจากพื้นประมาณ 2-6 เมตร
กลุ่มใหญ่ที่สุดสูงจากพื้นประมาณ
4 เมตร มีภาพประมาณ 23 ภาพ |
 |
ภาพทั้งหมดเขียนด้วยสีแดง
รวมเป็นภาพคน 10 ภาพ
แสดงอาการเคลื่อนไหว ภาพสัตว์ 4
ภาพ และ ภาพสัญลักษณ์ 15 ภาพ
เขียนแบบเงาทึบ แบบกิ่งไม้
และลายเส้นรูปทรงต่างๆ |
- |
 |
 |
 |
- |
จากลักษณะภาพเขียนสี
เช่น ภาพคนกับภาพสัญลักษณ์
หรือภาพกลุ่มคนกำลังแสดงอาการคล้ายร่วมกันเต้นรำ
ประกอบกับหลักฐานทางโบราณคดี
อาจหมายถึงมีการใช้สถานที่นี้ทำกิจกรรม
หรือประกอบพิธีกรรมบางอย่าง
และถ้ำนี้ก็ถูกใช้เป็นแหล่งฝังศพในโลงไม้ในยุคเหล็กด้วย |
- |