BackHome

 

ถ้ำผากระดานเลข

 
ที่ตั้ง

บ้านปากรอง ตำบลชาติตระการ อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก

พิกัดทางภูมิศาสตร์

เส้นรุ้งที่ 17o 20' 00" เหนือ เส้นแวงที่ 100o 42' 00" ตะวันออก

การค้นพบ

กรมศิลปากรได้รับแจ้งจากผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 และได้ไปทำการสำรวจ นับเป็นแหล่งศิลปะถ้ำแบบภาพแกะสลักที่พบแห่งแรกในประเทศไทย

สภาพที่ตั้ง

อยู่ในเขตวนอุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ กรมป่าไม้ ใกล้น้ำตกชาติตระการชั้นที่ 4 เดินแยกไปทางขวามือ ไปจนถึงเขาผาแดง หน้าผาถ้ำผากระดานเลขอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาผาแดง

ลักษณะของถ้ำ

เป็นโพรงถ้ำริมหน้าผา ปากโพรงกว้างประมาณ 2.5 เมตร สูงประมาณ 3.3 เมตร แผ่นหินที่มีภาพสลักตั้งเอียงประมาณ 45 องศา ขวางปากถ้ำทำให้แบ่งโพรงถ้ำออกเป็น 2 คูหา แผ่นหินหรือกระดานหินนี้เป็นหินทรายสีเทาอมแดง (dark reddish gray)

ภาพแกะสลัก

ภาพเกิดจากการตอกสกัดลงไปในเนื้อหินทรายด้วยเครื่องมือทำด้วยโลหะปลายแหลม เมื่อเป็นภาพตาม
ต้องการแล้ว จึงขัดฝนผิวหน้าหินให้เรียบเสมอกัน ภาพสลักที่ได้เป็นเส้นตรง เส้นโค้ง หรือ ทำเป็นหลุมกลมๆ มีหลายขนาดเรียงเป็นแถว 12 หลุม

มีบางท่านคิดว่าภาพที่เห็นนั้นน่าเป็นภาพคน ประมาณ 15 คน แสดงอาการเคลื่อนไหว ภาพสัตว์ ส่วนหลุมกลมๆเหล่านั้น จะมีความหมายถึงอะไร? เป็นสัญลักษณ์แทนอะไร? นั้นยังไม่สามารถแปลความหมายได้ ซึ่งอาจแสดงถึงความคิดในการรู้จักการนับ ? ก็อาจเป็นไปได้

 

BackHome