ที่ตั้ง |
บ้านไสโต๊ะดำ
ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก |
พิกัดทางภูมิศาสตร์ |
เส้นรุ้งที่
08o 17' 43" เหนือ เส้นแวงที่ 98o
37' 40" ตะวันออก พิกัดกริดที่ 47 PMK 591167
ระวางที่ 4725 IV |
การค้นพบ
|
นายชอง
บูลเบต์ (Jean Boulbet) ชาวฝรั่งเศส
ผู้สนใจศึกษาภาพเขียนสีตามถ้ำได้
ตีพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2528
และต่อมากรมศิลปากรจึงได้ไปทำการสำรวจและเก็บข้อมูลในปีเดียวกัน |
สภาพที่ตั้ง
|
ภูเขาหินปูนลูกเล็กๆ
ที่ยื่นออกไปในทะเล
บริเวณด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเขาใหญ่ปากช่องลาด
เป็นแหลมในอ่าวพังงา
ห่างจากถ้ำผีหัวโตไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
11.4 กม. |
ลักษณะของถ้ำ
|
ภาพเขียนอยู่บนเพิงผาด้านทิศเหนือของแหลมหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะเป็นเพิงหินที่ถูกน้ำกัดเซาะเข้าไปเมื่อครั้งที่น้ำท่วมถึง
ปัจจุบันสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ
3 - 5 เมตร |
ภาพเขียนสี |
ภาพเขียนปรากฎตลอดแนวยาวของเพิงผาประมาณ
5 เมตร เขียนด้วยสีแดง
แต่ส่วนมากภาพค่อนข้างลบเลือน
มองไม่เห็นรายละเอียดและรูปร่าง
ภาพเหล่านั้นเขียนในแบบระบายเงาทึบ
(silhouette) และแบบโครงร่างรอบนอก (outline)
ประกอบด้วยภาพคน ภาพสัตว์
ประเภทปลาและนก
และภาพลายเรขาคณิต
นอกจากนี้มีภาพเขียนด้วยสีดำซ้อนทับบางแห่งแต่ก็ไม่ชัดเจนและเป็นภาพที่เขียนขึ้นในภายหลัง
|
ภาพที่เด่นชัดเจนของแหลมไฟไหม้นี้คือภาพคนระบายสีแดงทึบ
มองดูคล้ายภาพคน 2 คน ยืนติดกัน
สูงประมาณ 50 ซม. มีแขน 2 ข้าง ขา 4 ขา
และมีนิ้วมือนิ้วเท้าข้างละ 3
นิ้ว |
 |
อย่างไรก็ตามภาพเขียนสีที่แหลมไฟไหม้นี้ก็บอกเรื่องราวของผู้เขียนว่าคงจะเป็นพวกที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการจับสัตว์น้ำเป็นหลัก
เดินทางร่อนเร่อยู่ในทะเล
ใช้เพิงผาหินนี้เป็นที่พัก
ชั่วคราวภาพที่
วาดขึ้นก็อาจสร้างขึ้นจากสิ่งที่พวกตนพบเห็นเสมออาจมีความเชื่อแอบแฝงอยู่ในภาพเหล่านั้นด้วยก็ได้
|
- |