ที่ตั้ง |
หมู่ 3
บ้านโป่งหวาย ตำบลด่านแม่แฉลบ
อำเภอศรีสวัสดิ์ |
พิกัดทางภูมิศาสตร์ |
เส้นรุ้งที่ 14o
34' 45" เหนือ เส้นแวงที่ 99o 08' 25"
ตะวันออก พิกัดกริดที่ 47 PNS 153135
ระวางที่ 4838 III |
การค้นพบ
|
ครูด่วน ถ้ำทอง
อดีตครูโรงเรียนประชาบาลในจังหวัดกาญจนบุรี
เป็นผู้ไปค้นหา
ถ้ำตามคำบอกเล่าของชาวบ้าน
และแจ้งให้รองศาสตราจารย์ปรีชา
กาญจนาคม คณะโบราณคดี
มหาวิทยาลัยศิลปากร ไปสำรวจในปี
พ.ศ. 2531 |
สภาพที่ตั้ง
|

|
ภูเขาหินปูนที่เรียกกันว่า
"เขาแดง "
ซึ่งเป็นภูเขาลูกเดียวในอำเภอศรีสวัสดิ์ |
- |
ลักษณะของถ้ำ
|

|
เป็นหน้าผาด้านทิศตะวันตกของเขาแดง
"ผาเขาแดง"
สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 450
เมตร ทางขึ้นลาดชัน ประมาณ 40 องศา |
ภาพเขียนสี |
ตลอดแนวหน้าผายาว
60 เมตร
ปรากฎภาพเขียนสีเป็นกลุ่มๆเป็นระยะๆ
เป็นภาพคน สัตว์และสิ่งของ
เขียนด้วยสีแดงคล้ำแบบเงาทึบ
(silhouette) และแบบเค้าโครงรอบนอก(outline) |
- |

|
ภาพแสดงอาการเคลื่อนไหวบอกเล่าเรื่องราวด้วยภาพเหล่านั้น
กลุ่มภาพที่เป็นจุดเด่นสะดุดตาที่สุด
มีความชัดเจน
และภาพแสดงเรื่องราวสัมพันธ์กันมากที่สุด
อยู่ในช่วง 50 - 60 เมตร
ทางซ้ายมือของหน้าผา |
- |

|
ปรากฎภาพคนเท่าที่เห็นชัดเจนประมาณ
20 คน ประดับตกแต่งบนร่างกาย
(อาจนุ่งผ้า) ศีรษะและไหล่
บางคนถือวัตถุบางอย่าง
รูปร่างอาจเป็นน้ำเต้าใส่น้ำ
หรือน้ำเต้าที่เป็นเครื่องดนตรี
"พิณน้ำเต้า" |
- |

|
บางคนอาจกำลังจูงหรือลากวัวหรือควาย |
- |

|
ภาพคนแต่ละคนมีอาการเคลื่อนไหวต่างๆ
กางขา ยกแขน คล้ายเต้นรำ
บางคนก็นั่ง บางคนก็ยืน
ภาพคนยังบ่งบอกเพศ
ด้วยการแสดงหน้าอกของผู้หญิงอีกด้วย
ภาพคนที่สูงใหญ่ที่สุดสูงประมาณ
60 ซม.
ภาพเหล่านี้เขียนให้เห็นถึงลีลาท่าทางที่เป็นธรรมชาติมาก |
- |
ภาพเขียนสีที่ปรากฎให้เห็นบนผาแดงนี้
น่าจะเป็นผลงานที่สร้างขึ้นเพื่อบ่งชี้ถึงการพยายามเล่าเรื่องเหตุการณ์หรือพิธีกรรมแห่งความอุดมสมบูรณ์
ซึ่งกลุ่มคนเจ้าของภาพได้ร่วมกันสนุกสนาน
อาจมีการร้องรำทำเพลงด้วยเครื่องดนตรีรูปน้ำเต้า
และเต้นรำร่วมกันด้วยความเคารพบูชาในสิ่งที่มีความเชื่อร่วมกัน
ดังนั้นชุมชนที่วาดภาพเหล่านี้คงมีชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์
และทำการเกษตรกรรมเมื่อราว 3,000
ปีมาแล้ว
และใช้สถานที่ถ้ำผาแดงนี้บอกเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นที่นั่นนั่นเอง
|